วันที่ 19 พฤษภาคม 2567 ณ ชุมชนห้วยเกิ้ง อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
.
เป็นมหกรรมที่เปิดพื้นที่เล่าเรื่อง สื่อสาร และสะท้อนการเรียนรู้ ของการดำเนินงาน 5 โครงการจาก MIDL for Inclusive Cities 2023 จ.อุดรธานี โดยได้รับเกียรติจากนายอำเภอกุมภวาปี เปิดประธานในพิธี และ สพม.อุดรธานี มาร่วมเยี่ยมชมมหกรรมของเยาวชน ภายในงานมีกิจกรรมมากมายที่มาจากการถอดกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน และเพื่อนเครือข่ายในภาคอีสานที่ทำกิจกรรมดำเนินงานพัฒนาเด็กเยาวชนในพื้นที่ อาทิ
– โครงการก่อการดี จากโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา ร่วมกับ โครงการเยาวชนพลเมืองอุดรธานี สร้างสรรค์ & ทันสื่อ 2023 จากโรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี ได้ชวนเล่นเกมทายปริศนาภาพอดีต-ปัจจุบันของเมืองอุดรธานี ซึ่งได้จากการดำเนินโครงการมองปัญหาของคนเมือง และการเข้าถึงใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะในเมืองอุดรธานี นำเสนอปัญหาและหนทางแก้ไขในมุมมองของเยาวชนต่อนายกเทศบาลนครอุดรธานี ภายใต้ชื่อกิจกรรม All of City อัศจรรย์นครอุดรธานี
– โครงการตามหาอีเกิ้ง จากโครงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร นำเรื่องราวความเป็นพหุวัฒนธรรมสังคม ลาว ไทย จีน ญวน และต้นทุนชุมชนมาถ่ายทอดเล่าเรื่องราวความชุมชนผ่านผ้าผะเหวด และชวนทำหน้ากากจีน จากชุมชนจีนปนลาวชาวห้วยเกิ้ง ภายใต้ชื่อกิจกรรมว่า “มาเบิ่งอีเกิ้ง”
-โครงการพ้อแล้วอีเกิ้ง จากโรงเรียนเทศบาล 1 โสกคูณ เด็กประถมศึกษาที่จิ๋วแต่แจ๋ว นำกระบวนการเรียนรู้ในโครงการที่เด็กได้ไปเรียนรู้ต้นทุนสมุนพรในชุมชน มาออกแบบเป็นลูกประคบน่ารัก ๆ สาธิตวิธีการใช้งานและบริการนวดเพื่อผ่อนคลายให้กับผู้เข้าร่วมงาน ภายใต้ชื่อกิจกรรม “ลูกประคบแฟนซี”
-โครงการ Student Care Caregiver จากโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง ที่ร่วมมือทำ MOU กับโรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร มาถ่ายทอดกระบวนการการดูแลรักษาผู้สูงอายุแบบเบื้องต้น จากและนำน้ำสมุนไพรที่ได้มาจากสวนสมุนไพรชุมชนมาแชร์ในงาน โดยมีตัวแทนเยาวชนเป็นผู้เล่าเรื่อง
.
และมีเครือข่ายที่ทำงานกับเด็กเยาวชนในภาคอีสานมาร่วมเปิดบูธกิจกรรม เช่น สบู่ และเมล็ดพันธุ์ จากทุ่งกุลาร้อยเอ็ด, workshop สมุดสมุนไพรเล่มเล็ก จากเยาวชน Young Forward รุ่น 1 , นิทานใบไม้ จากเครือข่ายแดกศิลป์ อาร์ต สเปซ, ชวนทำตุง ลายผ้าจากสีของใบไม้ รวมถึงมีการชวนชุมชนมาร่วมแชร์ และเปิดบูธกิจกรรมร่วมกับเด็กเยาวชน เช่น ข้าวหลาม บ้านตีมีด และชมรมภาพเก่าเล่าเรื่องห้วยเกิ้ง
.
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรม Sketcher to Sketching เมืองสู่ห้วยเกิ้ง ที่จัดโดยเครือข่าย Feel Trip ชวนผู้คนมาร่วมเดินเมือง-ห้วยเกิ้ง และสเก็ตภาพเล่าเรื่อง แล้วนำมาเปิดนิทรรศการภายในมหกรรม
.
ซึ่งงานมหกรรมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากคนในชุมชนที่มาร่วมชมผลงาน พาลูกหลานมาทำกิจกรรม และยังถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังการเรียนรู้และพลังของการที่เด็กเยาวชนได้มีพื้นที่ในการส่งเสียง แสดงความเห็น และสื่อสาร เพื่อชุมชน สังคม เมืองของพวกเขาในอนาคต
#ออนซอนเมืองห้วยเกิ้ง#เอิ้นกันมาม่วนชวนกันมาแชร์#midlforinclusivecities2023#midlอีสาน#สสย#สสส