หนังดี “FREEDOM WRITER”

หนังดีที่ฉันพูดถึงนี้ก็ คือ เรื่องFreedom Writers… หนังเปิดเรื่องมาก็ทำให้เราได้เจอกับความรุนแรง เพราะเปิดเรื่องด้วยการยิงกันกลางถนนเอาง่ายๆ ใครเดินออกบ้านเป็นต้องเสี่ยงกับการถูกทำร้าย การเหยียดผิว การไม่ชอบหน้ากันด้วยเหตุผลหลายประการ นำมาซึ่งความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

… และเรื่องมันก็มาลงที่เด็กหญิงลาตินคนหนึ่งได้เห็นเพื่อนบ้านของเธอถูกยิงตายกลางถนนหน้าบ้านเธอเอง และพ่อของเธอก็ถูกตำรวจผิวขาวจับไป (แน่นอนด้วยความรุนแรง) มันเลยส่งผลให้กับเธอจะต้องเจอกับความรุนแรงตอนที่โตขึ้น เพราะเธอจะต้องเข้าร่วมแก็งค์ความรุนแรงนั้น และชีวิตของเธอก็เลยมีแต่ความเสี่ยงอยู่ทุกวัน
ตัดกลับมาที่ รร. แห่งหนึ่ง ซึ่งมีครูคนใหม่ที่จะเข้ามาสอน ด้วยความที่อายุยังน้อยและยังไม่มีประสบการณ์ คุณครูErin Gruwellก็มีแต่ไอเดียดีๆ เหมือนหนังที่เธออาจจะเคยดูมาว่า นร.จะต้องดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เอาเข้าจริงๆ กลับเปล่าเลย หนังก็คือหนัง ความคิดก็คือความคิด ตราบใดที่ยังไม่ได้เจอกันจริงๆ อย่าเพิ่งเชื่ออะไร เพราะแท้จริงแล้ว นร.ห้อง 203ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเธอนั้น กลับเป็นห้องที่เปี่ยมไปด้วยความรุนแรงของ นร.จากหลายเชื้อชาติ มาผสมปนเปกันไป นร.อยู่ห้องเดียวกัน แต่ก็มีปัญหาระหว่างกัน เถียง ทะเลาะ ตบตีกัน จนครู Erin แทบถอดใจ แถมวันแรกที่เธอเข้าไปสอน ที่ รร. ก็มีเรื่องตีกันรุนแรงเข้าไปอีก

หลังจากที่ครู Erin ได้เจออะไรรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน เธอเลยบอกว่าเธอพยายามจะสอน และเข้าใจกับเด็กๆ ของเธอ แต่เมื่อเธอถูก นร. ในชั้นเรียนบอกว่าครูไม่มีวัน”เข้าใจ”หรอก มันเหมือนเป็นสิ่งกระตุ้นให้กับเธอพยายามมากยิ่งขึ้นกับการ “เข้าใจ” นร.ในชั้นเรียน โดยวันหนึ่งครูได้แจกสมุดเปล่าๆ ให้ นร.ไป แล้วบอกว่า เขียนอะไรลงไปก็ได้ที่อยากเขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เจอ ความคิด กลอน เพลง อะไรก็ได้ไม่มีข้อจำกัดขอแค่อย่างเดียวว่าขอให้เขียนมันเป็นไดอารี่และก็ต้องเขียนทุกวันหลังจากนั้น นร.ก็เขียนๆๆๆๆ และครูก็ได้ อ่านๆๆๆๆๆ เรื่องราวของนักเรียนทุกคน และแน่นอนว่ามันเป็นการเรียนรู้ถึงความคิด ความเป็นมาของ นร.ของเธอ

ความรุนแรงจริงๆ ยังพอมีกรุ่นๆ ครู Erin ก็ต้องหาเทคนิคในการสอนให้ นร.ในห้องของเธอมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์การล้อเลียนเรื่องสีผิวเกิดขึ้นในห้องอีก เธอก็เลยได้โอกาสในการสอน นร.ของเธอโดยการยกตัวอย่างสงครามการเหยียดผิวที่เกิดขึ้นของชาวยิวให้ นร.ได้รับรู้ถึงความรุนแรงของสงครามนั้น ว่ามีผลเช่นไร โดยการพา นร.ไปพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับความรุนแรงที่ชาวยิวถูกกระทำในอดีต ได้เห็นถึงความโหดร้ายที่ค่ายกักกัน ไม่ว่าจะเด็กหรือว่าผู้ใหญ่ ความสูญเสียมันเกิดขึ้นกับทุกคน นักเรียนได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้สัมผัสกับสิ่งที่เค้าพบเจอ พร้อมกับได้พบเจอกับชาวยิวตัวจริงที่เค้าได้ผ่านประสบการณ์เลวร้ายต่างๆ ในช่วงสงครามครั้งนั้นมาบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่เค้าได้เจอมาว่ามันโหดร้ายแค่ไหน ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนี้คุณครู Erin ก็เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด คือ เธอเองต้องทำงานพิเศษเพิ่มเติมเพื่อที่จะให้ได้เงินมาเพื่อให้ นร.ได้มี School Trip ครั้งนี้ และแน่นอนรวมถึงหนังสือที่เธอได้ซื้อมาให้ นร.ได้อ่านกันเพื่อที่จะเป็นการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวและสงครามชาวยิวครั้งนั้นด้วย อย่างเช่นหนังสือของAnne Frankเด็กสาวชาวยิวที่เธอกับครอบครัวได้รอพ้นจากการถูกจับตัวเข้าสู่ค่ายกักกัน แต่ว่าก็ต้องหนีมาที่อัมสเตอร์ดัม และอยู่อาศัยบนบ้านบนห้องใต้หลังคา ซึ่งมันก็คือที่คุมขังดีๆ นั่นเองเพราะทั้งหมดไม่สามารถจะไปไหนได้เลยเพราะว่ามีสิทธิทุกเมื่อในการถูกนาซีจับกุม และในระหว่างนั้น Anne ก็ได้เขียนไดอารี่บันทึกของเด็กหญิงตัวเล็กๆ และหลังจากนั้นบันทึกที่ว่าก็ถือเป็นโศกนาฏกรรมที่เราได้อ่านเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เกิดเหตุผ่านจากตัวหนังสือของเด็กหญิงตัวน้อยๆ ที่พบที่เจอ

หลังจากที่ นร. ได้รับเรียนรู้ถึงความรุนแรงสงครามเหยีดผิวของนาซีและชาวยิวเหล่านี้แล้ว ดูเหมือนว่าอะไรต่างๆ เริ่มดีขึ้น และ นร.เองก็เสนอกับครู Erin ว่าอยากเจอกับหญิงคนหนึ่งที่เค้าอ่านเจอในหนังสือซึ่งเป็นคนที่เคยช่วยเหลือ Anne Frank และเธอเองก็ยังมีชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เด็กๆ และครูจะต้องทำก็ต้องหาทุนในการทำความต้องการให้เป็นจริง และในที่สุด วันหนึ่งหญิงสาวซึ่งปัจจุบันที่เป็นหญิงชราที่เคยช่วยเหลือ Anne Frank ก็มาปรากฏตัวต่อหน้าเด็กๆ ในห้องเรียน และเธอก็ได้มาเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ นร.ได้ฟังอีก ฉากนี้ถือว่าเป็นฉากประทับใจฉันเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยคำพูดง่ายๆ ที่ นร.คนหนึ่งได้พูดว่า

“ผมเอง ไม่มีฮีโร่มาก่อน แต่ว่าคุณเป็นฮีโร่ของผม ”

หญิงชราได้ฟังดังนั้นแล้วก็ตอบมาว่า

” ฉันเองไม่ได้ฮีโร่หรอก แต่ว่าฉันทำหน้าที่และทำในสิ่งที่ถูกต้อง ( I know I did the right thing ) เธอทุกคนต่างหาก คือ ฮีโร่ ฮีโร่ในทุกๆ วัน แม้ว่าจะเป็นแค่เพียงคนธรรมดาแต่เราก็เป็นดวงไฟน้อยๆ แต่มันก็มีคุณค่า “………….( อันนี้ก็คร่าวๆ นะคะ เพราะว่าจำไม่ได้จริงๆ สำหรับคำพูดเป๊ะๆ ต้องแอบกลับไปดูอีกครั้งล่ะค่ะเนี่ย )
และแล้วเรื่องราวก็มาถึงส่วนสุดท้าย ซึ่งคุณครู Erin ก็ได้จัดทำหนังสือ Freedom Writers ขึ้น โดยการรวบรวมเรื่องราวของ นร.ของเธอที่เขียนไดอารี่ทุกวัน เพื่อให้สังคมได้อ่านถึงความรุนแรง เหตุความเป็นมาเป็นไป ของ นร. ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ว่ามันก็มีผลกับสังคมส่วนรวมอย่างใหญ่หลวงของเด็กๆ เยาวชนของชาติ และหนังสือนี้เองก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่ามาแล้ว …..

ภาพจากเวป Amazon.com

ตัวอย่างหนัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ประเภทยินยอม

    คุ้กกี้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Google Analytics)

บันทึกการตั้งค่า