“เปิดกบาลสานสร้าง สื่อสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ”

สสย.จับมือ สสส.จัดงานร่วมมือร่วมใจ เปิดกบาลสานสร้าง สื่อสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ ขยายงานพื้นที่นี้…ดีจัง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขับเคลื่อน และจุดประการความคิด แรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์สื่อ รวมทั้งเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย ในการสื่อสารสาธารณะ ระดมพลังสังคมให้กับเครือข่าย

20 เม.ย. 56 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้รับมอบหมายจาก สสส. ให้ดูแลยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ จัดงาน “เปิดกบาลสานสร้าง สื่อสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ” ระหว่างวันที่ 20 – 22 เม.ย. 56 ณ โรงแรมรอยัลเจมส์ลอดจ์ นครปฐม

20 เม.ย. 56 สถาบันสื่อสร้างสุขภาพเยาวชน (สสย.) ได้รับมอบหมายจาก สสส. ให้ดูแลยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ จัดงาน “เปิดกบาลสานสร้าง สื่อสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ” ระหว่างวันที่ 20 – 22 เม.ย. 56 ณ โรงแรมรอยัลเจมส์ลอดจ์ นครปฐม

น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวถึง ที่มาของการจัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ว่าสสย. มองว่าการทำงานที่สำคัญที่จะพัฒนาเยาวชนได้ก็คือการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อปี 2555 ได้จัดงานชุมชน 3 ดี (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) โดยมองว่า การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีลักษณะหลากหลายและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนจะ ส่งผลให้เกิดภูมิดี และสื่อดี

“สสย. มีชุดโครงการที่ว่านี้ก็คือโครงการ พื้นที่นี้ดีจัง ซึ่งมีภาคีอยู่หลายพื้นที่ และผ่านการทำงานที่ยาวนานและมีบทเรียนหลากหลาย มีกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้เกิดพื้นที่ที่ดี สื่อดี และภูมิดีได้ วันนี้มีพื้นที่ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยทำงานพื้นที่สร้างสรรค์เข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วย เรื่องพื้นที่สร้างสรรค์เป็นงานที่กำลังมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หลายพื้นที่กำลังเริ่มต้นทำงานเรื่องของเมืองสุขภาวะ งานนี้จะนำจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละพื้นที่มารวมกัน และในวันสุดท้ายจะมีการร่วมสรุปเป็นภาพใหญ่ที่มีพลัง มีความชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริง ขอให้ทุกคนร่วมกันเปิดสมอง เปิดจินตนาการเพื่อการทำพื้นที่สร้างสรรค์แก่เด็กและเยาวชนของเรา” น.ส.เข็มพร กล่าว

ร.ศ.ดร.วิลาสินี อุดลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส.กล่าว ถึงความจำเป็นที่ต้องมีพื้นที่สุขภาวะก็เพราะว่า สสส. ให้ความสำคัญกับพื้นที่สุขภาวะ เครือข่ายพื้นที่นี้ดีจังเป็นเครือข่ายต้นๆ ที่มีส่วนผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม ก่อนหน้านี้ สสส. เคยทำแต่งานรณรงค์สุขภาพในเชิงประเด็น เช่น ลดเหล้า บุหรี่ ออกกำลังกาย ยาเสพติด และพบว่ามีผลในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ปรับปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้คนอยู่ในสภาพที่มีวิถีสุขภาพได้อย่าง ยั่งยืน จึงต้องย้อนกลับมาทำงานพื้นที่ เพื่อสร้างปัจจัยสุขภาวะที่จะโอบอุ้มคนให้มีวิถีชีวิตที่สร้างสุขภาวะได้

ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก คนหนึ่งคนควรจะมีพื้นที่สีเขียวประมาณ 9 ตร.ม. ต่อคน แต่คนในกรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตร.ม. ต่อคน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมี 44 ตร.ม. ต่อคน

ในขณะที่ควรมีสวนสาธารณะเฉลี่ยคิดเป็นพื้นที่ 15 ตร.ม. ต่อคน แต่กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สวนสาธารณะเพียง 0.7 ตร.ม. ต่อคนเท่านั้น ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีสวนสาธารณะครบทุกจังหวัด แต่มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่มีการใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

ผลของการขาดพื้นที่ดีๆ คือเกิดวิกฤตด้านสุขภาพ คนไทยมีภาวะอ้วนลงพุงแล้วประมาณ 34.7% และประชากร 1 ใน 4 มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ มากมายที่เรียกว่า “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดัน ฯลฯ สาเหตุเกิดจากการขาดกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการกิน ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตนเองทั้งนั้น

“ทางหนึ่งของ สสส. ที่จะแก้ปัญหานี้ก็คือการสร้างพื้นที่สุขภาวะให้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสนามกีฬา ฟิตเนส หรือสถานที่ที่คนต้องมีค่าใช้จ่ายหรือเข้าถึงยาก อาจจะเป็นทางเท้าที่ปลอดภัย สามารถเดินจากบ้านไปที่ต่างๆ ได้อย่างสบายใจ พื้นที่ในโรงเรียนที่รองรับให้เด็กนักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากๆ หรือพื้นที่ต่าง ๆ ที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายหลากหลายรูปแบบ  การมีพื้นที่สร้างสรรค์นั้น จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ยกตัวอย่าง การนำดอกไม้ไปวางในห้องพักผู้ป่วยนั้น พบว่าผู้ป่วยหายป่วยรวดเร็ว” ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม กล่าว

พร้อมกล่าวถึงนิยามของพื้นที่สุขภาวะว่า เป็นที่พื้นที่ที่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีของคน ที่อยู่ในย่านพื้นที่ ถูกวางแผนออกแบบและดำเนินการด้วยความตั้งใจตามหลักสุขภาวะ โดมีกระบวนการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนของทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง นอกจากการสร้างพื้นที่แล้วก็ต้องเปิดให้สังคมการมีส่วนร่วม มีการใช้ประโยชน์และกิจกรรม รวมถึงมีความสะดวกและเข้าถึงและมีความน่าใช้

“ตัวอย่างเมืองที่มีการเปลี่ยนพื้นที่เมืองฮาเลมในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นกลุ่มคนผิวสีที่ไม่ได้รับการดูแล หลังจากมีการเปลี่ยน Healem Children’sZone ซึ่งริเริ่มโดยเด็กๆ ที่ไปดูงานข้างนอก และกลับเข้ามาเขียนโครงการของบประมาณมาเริ่มดำเนินงานโดยเชิญชวนคนที่ พื้นที่ โดยเริ่มจากครอบครัวของตัวเองให้มาช่วยคิดช่วยทำ เชิญชวนคนที่ออกไปข้างนอกกลับมา และกิจกรรมแรกก็คือเด็กฮาเลมต้องจบการศึกษาทุกคน มีการวางแผนการจัดการผังเมืองและปัจจุบันก็กลายเป็นเมืองต้นแบบของทั่วโลก

อีกตัวอย่างก็คือพื้นที่รกร้างบริเวนใต้ทางด่วนประเทศแคนาดา ซึ่งเปลี่ยนพื้นที่ทางด่วนที่รกร้างและกลายที่เป็นที่มัวสุม ให้เปลี่ยนพื้นที่สีเขียว มีทั้งสนามเด็กเล่น รองรับทุกวัย กลางคืนก็มีแสงไฟส่องสว่าง แล้วพื้นที่รกร้างก็หายไป” ร.ศ.ดร.วิลาสินี กล่าว

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแผนการดำเนินงานพื้นที่สุขภาวะในอนาคตว่า มีกลไกสนับสนุนทางวิชาการด้านพื้นที่สุขภาะโดยมีทั้งด้านการออกแบบและพัฒนา พื้นที่ ด้านการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างศักยภาพเครือข่ายพื้นที่ ด้านการประเมินผลลัพธ์ตามเป้าหมายพื้นที่สุขภาวะเพื่อการสร้างพื้นที่สุข ภาวะอย่างมีคุณภาพ

อ.สุคนธจิต วงษ์เผือก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ย้อนรอยถึงการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ หรือที่เรียกกันว่า “พื้นที่นี้…ดีจัง” ได้ดำเนินการมา 3 ปีแล้ว และกำลังขึ้นปีที่ 4

“การเริ่มต้นทำนั้นใจต้องมาก่อน จะใช้พื้นที่ที่ไหนก็ได้ เพียงแต่ต้องมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จ ยุทธศาสตร์พื้นที่นี้ดีจังนั้นก็คือ ทำงานแนวลึก สร้างเด็กเป็นนักพัฒนา ทำให้เด็กเติบโตในชุมชน ทำงานแนวกว้าง มีเครือข่าย มีภาพเป็นข่าว สร้างกระแสในสังคม ทำงานด้วยพลังบวก ต่อยอดได้หลายอย่าง

ซึ่งพื้นที่นี้…ดีจังนั้นต้องมีพื้นที่ทางกายภาพ นั่นก็คือพื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งบ้าน โรงเรียน และชุมชน พื้นที่ทางความคิด ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออก แสดงความสามารถ มีส่วนในการตัดสินใจ จัดกระบวนการ จัดกิจกรรมของตัวเอง” อ.สุคนธจิต กล่าว

นอกจากนี้ยังบอกถึงแนวคิดในการทำพื้นที่สร้างสรรค์นั่นคือแนวคิด

SPACES ซึ่งต้องมีพื้นที่รูปธรรม ที่จะทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ แนวคิดนี้ประกอบด้วย

Space พื้นที่หรับเด็กและเยาวชน

Play and Participation การเล่นและมีส่วนร่วม

Arts and Activities ศิลปะและกิจกรรม

Community ความเป็นชุมชน

Empowerment การเรียนรู้ เสริมพลัง ทั้งในระดับของคนทำงาน เครือข่าย เด็กๆ และคนในชุมชนและ

Sharing การแบ่งปัน หากเป็นไปได้อยากให้เกิดพื้นที่นี้…ดีจังทั่วประเทศ” อ.สุคนธจิต กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ประเภทยินยอม

    คุ้กกี้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Google Analytics)

บันทึกการตั้งค่า