เวทีถอดบทเรียนเครือข่าย MIDL ภาคเหนือและภาคกลาง

25-28 เมษายน 2567 ณ โรงแรม The Sez บางแสน ชลบุรี

.

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) จัดเวทีถอดบทเรียนเครือข่าย MIDL for Inclusive Cities ภาคเหนือและภาคกลาง ระหว่างวันที่ 25-28 เมษายน 2567 ณ โรงแรม The Sez บางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยมีเครือข่ายที่เข้าร่วมดังนี้

เครือข่าย MIDL for Inclusive Cities ภาคเหนือตอนบน จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่

โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จ.เชียงราย

โรงเรียนบ้านปางขอน จ.เชียงราย

โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา จ.แม่ฮ่องสอน

โรงเรียนบ้านหนองโค้ง จ.เชียงใหม่

โรงเรียนวัดห้วยทราย จ.เชียงใหม่

โรงเรียนวัดดอนชัย จ.เชียงใหม่

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่

โรงเรียนบ้านสันติสุข จ.พะเยา

โรงเรียนบ้านพวงพยอม จ.พะเยา

โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา จ.น่าน

โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา จ.น่าน

โรงเรียนวัดนิโครธาราม จ.น่าน

.

เครือข่าย MIDL for Inclusive Cities ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่

โรงเรียนบ้านยะพอ จ.ตาก

โรงเรียนบ้านปากคะยาง จ.สุโขทัย

โรงเรียนเพชรละครวิทยา จ.เพชรบูรณ์

โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา จ.กำแพงเพชร

.

เครือข่าย Young Food ภาคกลาง จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่

โรงเรียนวัดโฆสิทธาราม จ.สิงห์บุรี

.

สำหรับเนื้อหาในการถอดบทเรียน มีกระบวนกรถอดบทเรียนจากทีมกล้าก้าว โดยใช้กระบวนการ MIDL ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสทบทวนถึงตัวตนและบทบาทหน้าที่ของตนต่อการทำงานในโครงการ ไปจนถึงร่วมกันทบทวนประเด็นงานของแต่ละโรงเรียน เหตุผลในการทำโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ปัจจัยในการดำเนินงานให้สำเร็จ และเกิดผลอะไรขึ้นบ้างหลังจากทำโครงการไปแล้ว ซึ่งประเด็นหลักในการทำงานของแต่ละโรงเรียนมีจุดร่วมที่คล้ายกันคืออิงจากสถานการณ์ในชุมชนที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ประเพณีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชุมชน และระบบสาธารณสุขของชุมชน ส่งผลให้เด็กเยาวชนได้ริเริ่มทำโครงการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

.

ตัวอย่างโครงการที่เด็กเยาวชนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน เช่น

– ปางขอน เด็กเยาวชนพยายามผลักดันเรื่องการผลิตกาแฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดขยะจากเปลือกกาแฟนำไปหมุนเวียนทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ

– หนองโค้ง เด็กเยาวชนร่วมขับเคลื่อนประเด็นการดูแลสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ต้นไม้ในเขตชุมชนเมืองซึ่งทุกคนช่วยกันได้

– เชียงกลาง เมื่อสามเณรซึ่งเป็นตัวแทนของศาสนาพุทธได้เข้ามามีส่วนร่วมดูแลจิตใจของผู้ป่วยร่วมกับสาธารณสุขชุมชน จึงสร้างความหมายใหม่ที่นำศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมากขึ้น

– เพชรบูรณ์ จากความต้องการใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนของตนเองแทนการย้ายไปเรียนที่อื่นที่ไกลบ้าน นำไปสู่การตามหาลายผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและลายผ้าที่เยาวชนออกแบบเองในที่สุด

– ตาก วิถีชีวิตคนกับช้างที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันภาพที่เห็นในชุมชนคือช้างมีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว เด็กเยาวชนจึงร่วมกันสร้างความหมายใหม่ให้ชุมชนถึงการมีส่วนร่วมของทุกคนกับการดูแลช้างของบ้านยะพอ

– สิงห์บุรี เล่าเรื่องชุมชนผ่านขนมกระยาสารทของดีบ้านน้ำตาลเมืองอินทร์ ที่เด็กเยาวชนร่วมออกแบบให้ตอบโจทย์ยุคสมัย เข้าถึงได้ และรับประทานได้ทุกคน

.

และวิทยากรพิเศษจากทีมสาธารณะศึกษา Feel Trip นำเครื่องมือการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนและพาสำรวจบางแสนตามฉบับของ Feel Trip ผ่านศิลปะคนรุ่นใหม่ที่เชื่อมโยงกับบางแสนแง่มุมต่างๆ ได้แก่ workshop ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุเหลือใช้, workshop ตีเปลี่ยนโลก สร้างเสียงและจังหวะจากสารพัดวัสดุรอบตัว, worpshop กราฟิตี้ และ workshop สีสันบันเทิง สร้างสีแพนโทนบางแสนของตัวเองจากการเดินสำรวจบริเวณชายหาดบางแสน

นอกจากกระบวนการทบทวนและนำเสนอโครงการของแต่ละโรงเรียนแบบเปิดห้อง workshop ที่ตัวแทนแต่ละโรงเรียนนำเสนอเป็นรอบและเพื่อนจากโครงการอื่นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยังมีการพูดคุยวางแผนพัฒนาโครงการ โดยคุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการมูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน ถ่ายทอดแนวคิดเรื่องนิเวศสื่อสุขภาวะและแนะนำแนวทางการทำงานในปี 2567

#midlforinclusivecities#ถอดบทเรียน#สสย#สสส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ประเภทยินยอม

    คุ้กกี้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Google Analytics)

บันทึกการตั้งค่า