22-23 มกราคม 2566 ณ Abloom Exclusive Serviced Apartment พญาไท กรุงเทพมหานคร
.
มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) จัดเวทีสัมมนาเครือข่ายขับเคลื่อนนิเวศสื่อสุขภาวะด้วยพลังเยาวชน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2566 ณ Abloom Exclusive Serviced Apartment พญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2566 ของแต่ละเครือข่าย และร่วมวางแผนทิศทางการดำเนินงานในปี 2567 โดยแต่ละเครือข่ายบอกเล่ากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในการทำงานตามคำสำคัญร่วมของเครือข่ายฯ เช่น “MIDL for Inclusive Cities” “นักสื่อสารสุขภาวะ” “ฟื้นคืนพลัง” “นิเวศสื่อสุขภาวะ” เป็นต้น จากนั้นถอดบทเรียนจากหมุดหมายที่แต่ละเครือข่ายดำเนินงานสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรค และภารกิจที่ยังเหลือเพื่อให้สำเร็จงานตามเป้าหมาย สำหรับข้อท้าทายร่วมของเครือข่ายฯ คือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากอยู่ภายใต้แผนงานสื่อสุขภาวะ ในภายหน้าต้องยกระดับการสื่อสารให้มากขึ้นทั้งกับคนทำงานเองและการสื่อสารจากพื้นที่ย่อยในเครือข่าย
.
ในเวทีสัมมนาครั้งนี้ มีเครือข่ายที่เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 5 เครือข่าย ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน Child and Youth Media Institute
เครือข่ายสาธารณะศึกษา Feel Trip
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม-Thai Volunteer Service
ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ แต่ละเครือข่ายได้ชักชวนคนทำงานหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ย่อยมาร่วมสัมมนาด้วย เช่น เครือข่ายพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เครือข่ายรักษ์เขาชะเมา เยาวชนจากเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม เยาวชนจาก Feel Trip กรุงเทพ และ Feel Trip อ.เบตง จ.ยะลา
.
และเพื่อสร้างเสริมเติมเครื่องมือให้กับคนทำงาน ที่ในครั้งก่อน สสย. ได้เชิญวิทยากรจากเพจ Little Thoughts มาแลกเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบพื้นที่สาธารณะโดยมีหัวใจหลักที่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมจากผู้คนในพื้นที่ ในครั้งนี้ได้เสริมเครื่องมือการทำงานกับชุมชนในหัวข้อ “จุดประกายการสร้างสรรค์พลังแห่งเมือง” โดยมีวิทยากรคือ คุณอรุณี อธิภาพงศ์ จากเพจ AriAround บอกเล่าประสบการณ์สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเมือง ที่เริ่มต้นจากความฝันอยากเห็นเมืองมีระบบการจัดการขยะที่ดี ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน ลดช่องว่างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเมือง พร้อมแชร์เครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับชุมชนสมัยใหม่ในแพล็ตฟอร์มของ Ariaround เองอย่างการนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแลกเป็น “เหรียญอารีย์(Ari Coin)” เพื่อใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในชุมชน กระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนด้วย นอกจากนี้ยังมีแผนจะพัฒนาระบบการใช้งานแพล็ตฟอร์มให้เกิดการแลกเปลี่ยนในชุมชนมากขึ้น เพื่อทำให้แพล็ตฟอร์มนี้เป็นพื้นที่กลางของคนในชุมชน และหากชุมชนไหนต้องการนำไอเดียหรือเครื่องมือไปใช้สามารถแบ่งปันกันได้เลย
#เครือข่ายขับเคลื่อนนิเวศสุขภาวะ#MIDLforinclusivecities#มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน#มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก#มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา#มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม#สาธารณศึกษา#Feeltrip#สสส