9 workshop โปรเจกต์การเรียนรู้ของเยาวชน ภายใต้โครงการสาธารณศึกษา Feel Trip ที่นำมาเปิดพื้นที่ในมหกรรม Feel Trip Feel โหล่ง(ฮิมคาว) Ep.2

– เมนูหัวตะเข้ ชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้ ลาดกระบัง กทม. หลายคนรู้จักหัวตะเข้ผ่านการมีตลาดเก่าริมน้ำ Street Art ในชุมชน แต่เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้เล็งเห็นประเด็นในพื้นที่ตนเองมากกว่านั้น พวกเขาเห็นความสำคัญด้านอาหารและทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย เด็กเยาวชนจึงรังสรรค์เมนูอาหารใหม่ ๆ และรื้อฟื้นเมนูอาหารดั่งเดิมที่เคยมีขึ้นมาอีกครั้ง เกิดเป็นการเรียนรู้ชุมชนที่นำเครื่องมืออาหารมาเป็นสะพานเชื่อมโยงพื้นที่ ภูมิปัญญาและคนหลายหลากวัย มาร่วมออกแบบกระบวนการเรียนรู้ชุมชนไปด้วยกัน เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จักปราชญ์ในพื้นที่ส่งต่อให้เด็กในชุมชน จนเกิดวิทยากรจิ๋ว เด็กสามารถเล่าเรื่องสื่อสารชุมชนและพาทำ Workshop ที่เดิมทีปราชญ์ในพื้นที่เท่านั้นเป็นคนถ่ายทอดเล่าเรื่อง ต่อยอดเกิดเป็น เส้นทางเรียนรู้เมนูหัวตะเข้ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน ครั้งนี้เยาวชนจึงได้นำภูมิปัญญาของหัวตะเข้มาส่งต่อ ผ่านการ Workshop ทำลูกหึ่ง ที่มาจากการนำขยะ(ฝาขวด) มารีไซเคิลเป็นของเล่น และการทำว่าวใบไม้ นำธรรมชาติใกล้ตัวมาเป็นว่าว

– หนองเต้า มินิอัลบั้ม พื้นที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จากปี 1 ที่คนรุ่นใหม่ในชุมชน ได้ชวนเด็ก ๆ ในชุมชนไปเก็บขยะในชุมชน แลกเปลี่ยนกับการเรียนรู้เครื่องดนตรีเตหน่า ที่เป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นของชาติพันธุ์ปกาเกอะญา จนเกิดการรวมตัวของเด็กเยาวชนกลุ่มหนึ่ง ร้องเล่น ขับลำนำไปด้วยกัน และขยับต่อยอดจากอย่างเล่น เป็นอยากรู้เรื่องราวชุมชนให้รอบด้านมากขึ้น จนเกิดเป็นการเปิดพื้นที่ 7 วิชาปกาเกอะญอ ให้ผู้คนที่สนใจมาร่วมรู้จักวิถีชีวิต วัฒนธรรมในทุกด้านทุกมิติของชุมชนบ้านหนองเต่า และในปี 66 ที่ผ่านมาเด็กเยาวชนเก็บรวบรวมองค์ความรู้ วัฒนธรรม เรื่องเล่า และวิถีชีวิตมาสร้างสรรค์เป็นบทเพลงเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้คนทุกช่วงวัยในชุมชน เกิดเป็น หนองเต้ามินิอัลบั้ม บทเพลงเป่อทีลอลี ดนตรีเพื่อการเปลี่ยนแปลง จนเกิดข้อค้นพบที่สำคัญว่า “การเรียนรู้วัฒนธรรมของตนเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเด็ก เยาวชน เพราะคือตัวตน คือเรื่องของเราเอง” เด็ก ๆ จึงนำบทเพลงที่ได้แต่งขึ้นมามาถ่ายทอดขับร้องให้ผู้คนได้ร่วมรับฟัง และนำ Workshop เครื่องดนตรีที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของพวกเขาอย่าง เตหน่า มาชวนทุกคนออกแบบเตหน่าจิ๋วของตนเอง

– หลักสูตรวิถีชีวิตชุมชนวัดจันทร์ (เล-คราฟต์-โหนด) อ.สทิงพระ จ.สงขลา ชุมชนที่มีต้นทุนมากมาย ทั้งเรื่องวัฒนธรรม วิถีชีวิต อาชีพ สู่การสร้างหลักสูตร เล-คราฟต์-โหนด ที่มีวิชาทะเลชวนเรียนรู้ประมงพื้นที่บ้าน วิชาเคยกุ้ง-เคยปลา วิชาปลาแห้ง ห้องเรียนคราฟต์ วิชาจากลา วิชาว่างพื้นบ้าน วิชาหูหิ้วแก้วใบตาลโตนด วิชาหุ่นเงาใบตาลโตนด และห้องเรียนโหนด วิชาน้ำผึ้งโตนด วิชาน้ำผึ้งขี้ม้า วิชาน้ำผึ่งแว่น วิชาลูกตาลโหนด ทั้งหมดนี้ยึดโยงกับวิถีชีวิตคนชุมชนวัดจันทร์ และเชื่อมโยงเข้ากับตัวชี้วัดมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องราวการเรียนรู้ทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดจากปราฐช์ชาวบ้านแทนที่จะเป็นครูหน้าห้องเรียน และได้นำการละเล่นพื้นบ้านจากไม้ไผ่อย่างไม้โถกเถก จากลาที่เป็นเสื้อกันฝนโบราณมาให้ลองสวมใส่ อีกทั้งยังเปิดห้องเรียนวิชาหุ่นเงาจากใบตาลโตนด ให้ทุกคนได้ลายวาด แกะลาย ฉายเงา เล่าเรื่องไปด้วยกัน

– แปลงผักนุ้ยๆ ปี 4 ตอน Chef นุ้ย ๆ จ.กระบี่ จากใช้พื้นที่ว่างเปล่าในรั้วบ้านมาทดลองปลูกพืชสวนครัว ที่ปลอดสาร ปลอดภัยและกินได้ พากันสืบเสาะหาพืชพรรณท้องถิ่นจนค้นพบถั่วท้ายร้อที่กำลังจะสูญพันธุ์ และสร้างพิพิธภัณฑ์เมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นที่คนในชุมชนมาเรียนรู้ ขอเมล็ดพืชได้ โดยมีเด็กๆ เป็นคนดูแลแนะนำ โครงการเติบโตมาเป็นปีที่ 4 เด็กเยาวชนเริ่มขยับมาใส่ใจเรื่องสุขภาพตัวเองมากขึ้น ชวนกันรังสรรค์เมนูอาหารใหม่ ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากสวนครัวของตัวเอง และนำข้าวยำที่เป็นอาหารประจำภาคใต้มาทำ WS ชวนชิม ชวนรู้จักสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหาร

.

Feel Trip Feel โหล่ง(ฮิมคาว) : มาเรียนรู้ให้สนุก มาเล่นให้ฉ่ำปอด

โครงการสาธารณศึกษา เปิดพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนและเปิดพื้นที่สื่อสารชวนทำ Workshop จากการเรียนรู้ตลอดปีของเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่ ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

#InclusiveCities#feeltrip#สาธารณศึกษา#โหล่งฮิมคาว#มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน#เยาวชนนักสื่อสาร#สสส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ประเภทยินยอม

    คุ้กกี้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Google Analytics)

บันทึกการตั้งค่า