โครงการสาธารณศึกษา Feel Trip เปิดพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนและเปิดพื้นที่สื่อสารชวนทำ Work shop จากการเรียนรู้ตลอดปีของเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่ ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
.
กำลังจะก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 ของโครงการสาธารณศึกษา กับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ด้วยความคิดความเชื่อที่ว่าเราทุกคนล้วนออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเองได้ และการเรียนรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด เกิดการส่งต่อแนวคิดนี้สู่ผู้คนที่หลากหลาย ทั้งอายุ วัย พื้นที่ วัฒนธรรม เชื้อชาติและความเชื่อ
จนเกิดเป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ของเยาวชนที่ร่วมทางกับ Feel trip ขยับขับเคลื่อนการเรียนรู้ในพื้นที่บ้านของตนเองได้มาทำความรู้จักกับเพื่อนที่อยู่ภายใต้โครงการสาธารณศึกษา จากพื้นที่ภาคเหนือ ใต้ กลาง และถอดบทเรียนการทำงานร่วมกัน ผ่านการเล่าภาพโครงการที่ทำ ใน 4 หัวข้อหลัก คือ 1.ภาพความสำเร็จในโครงการ
2. ทำอะไรบ้างจึงเกิดความสำเร็จขึ้น
3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (มุมมอง ความเชื่อ กระกระทำ)
4.สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้ามาทำโครงการ
เพื่อให้ผู้ที่ขับเคลื่อนงานในพื้นที่และเด็กเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการได้ถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการของตนเอง และให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองขึ้น
.
ซึ่งนอกจากถอดบทเรียนการเรียนรู้ของแต่ละพื้นที่แล้ว เด็กเยาวชนและผู้ดำเนินโครงการ ได้มีการนำกิจกรรมที่เกิดจากการลงไปเรียนรู้ชุมชน มาออกแบบการเล่าเรื่อง สื่อสาร และส่งต่อคุณค่าความหมายใหม่ให้กับพื้นที่ของตนเอง ผ่านการชวนผู้คนมาเรียนรู้ผ่านปฏิบัติการเล็ก ๆ ที่เด็กเยาวชนเป็นผู้ส่งต่อเรื่องราวเล่านี้ด้วยตัวเอง
เกิดเป็น Work shop จำนวน 9 ฐาน ได้แก่ อโยเดียคลับ จ.พระนครศรีอยุธายา, สื่อสิทธิ volunteer of Law จากพื้นที่ออนไลน์, เส้นสายลายผ้า ผ้าปักสะท้อนวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ปี 3 “พอส่าโฮ” พาสืบสานลายผ้า “ปกาเกอะญอ” อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, Thaton Walk Vlogazine อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่, เมนูหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ , Art School วันขัน_นาท่อม จ.พัทลุง, หนองเต้า มินิอัลบั้ม อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่, หลักสูตรวิถีชีวิตชุมชนวันจันทร์ (เล-คราฟต์-โหนด) จ.สงขลา และแปลงผักนุ้ย นุ้ย ปี 4 จ.กระบี่
3 การแสดง ได้แก่ การรำโนราห์ การแสดงเตหน่าจากหนองเต้า มินิอัลบั้ม และการโชว์การละเล่นวิถีชีวิตชุมชนวันจันทร์ และ 1 Creative Trail ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ Feel trip ใช้ คือ การเดินเมือง “มอน ไม่ใช่ มอญ”
นอกจากนั้นยังมีวงคุยข้อเสนอต่อการสร้างพื้นที่การเรียนรู้แบบใหม่ โดยมี ตัวแทนเยาวชนที่ดำเนินงานภายใต้โครงการ Feel trip รวมวงเสวนากับ อ.ไพรัช ใหม่ชมพู (อดีตรองนายก อบจ.เชียงไหม่) คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานชุมชนโหล่งฮิมคาว คุณยุทธชัย เฉลิมชัย ผู้ประเมินภายในโครงการ Feel trip สส.การณิก จันทดา จากพรรคก้าวไกล และคุณศศิกานท์ พืชขุนทด รองผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
#InclusiveCities#feeltrip#สาธารณศึกษา#โหล่งฮิมคาว#มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน ( สสย.)