Young Forward 2 ครั้งที่ 2 การเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) กับปฏิบัติการพลเมืองที่นับรวมผู้คน

วันที่ 16-18 มีนาคม 2567 ณ พระนครศรีอยุธยา

.

ผ่านไปแล้วกับกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ของเยาวชนแกนนำนักสื่อสารสุขภาวะ Young Forward gen2 รุ่น Dragon Heart กับประเด็นพลังพลเมืองที่เท่าทันสื่อกับเมืองที่นับรวมคนทุกคน โดยมีวิทยากรพิเศษมากมายที่มาชวนเยาวชนเรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเปิดวงเสวนาพูดคุยกับคนในพื้นที่ โดยในวันแรกของการอบรมเป็นการชวนเขย่าแนวคิดติดตั้งมุมมองความเป็นพลเมืองโดยมี ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล เป็นวิทยากรหลัก Role Play เป็นผู้คนในสังคมที่มีบริบทต่างกัน ได้ลองร่างผังเมืองออกแบบเทศบาลในฝันของเยาวชนร่วมกัน เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงความหลากหลายของสังคมภายใต้การออกแบบที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกคน ก่อนจะให้แต่ละเมืองได้เลือก City vision ของตัวเอง จาก 9 vision ได้แก่ เมืองที่ไม่ทอดทิ้งใคร เมืองคาร์บอนต่ำ เมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองยั่งยืน เมืองน่าเดิน เมืองยืดยุ่น เมืองช้า และเมืองอัจฉริยะ หลังจากนั้นได้ให้เยาวชนนำบทบาทสมมติที่ได้กับเมืองที่ตัวเองอยู่ในชีวิตจริง มาเทียบกับโจทย์แล้วให้คะแนนในการใช้ชีวิต 1-6 เรียงลำดับมากไปหาน้อยสุด เพื่อให้เยาวชนได้เข้าใจการเข้าถึง ใช้ประโยชน์ในระบบขนส่ง ทางเท้า และห้องน้ำสาธารณะของคนแต่ละแบบ และร่วมกับสร้าง Keyword สำคัญต่อการสร้างเมือง “เมืองที่เยาวชนอยากเห็นควรคำนึงหรือมี Keyword ใดบ้าง” ก่อนจะจบวันแรกด้วยการทำ Free Writing เขียนทุกอย่างที่คิด ห้ามหยุด ห้ามอ่านทวบซ้ำ ภายใต้โจทย์ “พื้นที่เมืองที่ฉันชอบที่สุด” และฝึกการฟัง 3 แบบ ได้แก่ Revoice (ทวนซ้ำ) Recap (จับใจความสำคัญ) และ Reflect (สะท้อนคิดจากประสบการณ์)

.

ในวันที่ 2 พี่โต้ คุณโตมร อภิวันทนากร จากกลุ่มมานีมานะ มาชวนเยาวชนคิดให้ทันสื่อ รู้ให้ทันตัวเอง กับกิจกรรม รู้ทันสื่อผ่านภาพ มุมมองของการนำเสนอมีนัยยะแฝงอยู่เสมอ และชวนมองสื่อด้วยสายตาพลเมือง กับ 5 Keyword การเท่าทันสื่อ 1.ความเป็นเจ้าของ 2.ผลประโยชน์และอำนาจ 3.ทัศนคติมุมมองค่านิยม 4.รูปแบบการโน้มน้าว 5.สร้างความหมาย ความเข้าใจ หลังจากนั้นชวนย้อนกลับไปทบทวนการอบรมครั้งที่ 1 ในโจทย์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 3 แบบ อำนาจเหนือกว่า อำนาจภายใน และอำนาจร่วม ทบทวนอัตลักษณ์ที่มีในสังคม กับระบบที่ให้คุณค่าต่ออัตลักษณ์ไม่เท่ากัน และเรียนรู้เรื่องความหลากหลายในสังคม เพื่อสร้างการออกแบบที่มีส่วนร่วม ตอบโจทย์ความหลากหลาย รู้จักองค์ประกอบการสื่อสารสร้างสรรค์เมืองเพื่อให้เป็นเมืองของทุกคน 4P -Plot insightfully (โครงเรื่องที่ลึกซึ้ง) -People (ผู้คน) -Participation (การมีส่วนร่วม) –(em)Power (เสริมอำนาจ) และให้เยาวชนทดลองออกแบบพื้นที่การสื่อสาร ผ่านกิจกรรม/รูปแบบ หรือสิ่งที่อยากทำในพื้นที่ตัวเองด้วยโจทย์ 4P แล้วนำเสนอแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในช่วงเย็นของวันที่ 2 นี้เยาวชนอโยเดีย คลับ ที่เป็นกลุ่มเยาวชนที่ขับเคลื่อนประเด็นรถไฟความเร็วสูงและการเปลี่ยนแปลงของเมืองอยุธยา ได้มาชวนเยาวชนทดลองเล่นบอร์ดเกมที่ได้ออกแบบเอง เพื่อสะท้อนถึงปัญหาการจัดการการคมนาคมในพื้นที่ที่เป็นปัญญหาหลักของชาวอยุธยา ให้เยาวชนได้เห็นประเด็นในพื้นที่ผ่านการจำลองเหตุการณ์ก่อนจะไปเจอพื้นที่จริงในวันต่อมา

.

ในวันสุดท้ายนี้ เยาวชน Y4W ได้ออกจากโรงแรมแต่เช้าเพื่อเดินเรียนรู้เมืองผ่านการเดินชมจุดเชื่อมโยงคมนาคม 3 รูปแบบ ได้แก่ ท่ารถ เรือ รถไฟ ตั้งวงเสวนา และจบด้วยการร่วมออกแบบอยุธยาใหม่ ภายใต้การเข้ามาของรถไฟฟ้าความเร็วสูง เยาวชนออกเดินไปยังจุดแรกที่เป็นศูนย์รวมรถตู้ชั่วคราว เพราะอยุธยาไม่มีศูนย์รวมขนส่งสาธารณะ ทำให้ปัจจุบันเป็นเพียงการจอดรถที่ริมทางเท่านั้น และเดินลัดเลาะไปในตลาดเจ้าพรมชวนมองพื้นที่การครองที่ดินที่เป็นการเช่าช่วงต่อทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความเห็นต่อการพัฒนาเมือง ดูโซนบ้านเก่า ศาลเจ้าแฝด และนั่งเรือข้ามฟ้ากไปยังชุมชนโรงน้ำปลา ที่ปัจจุบันเป็นโฮสเทล แต่ยังคงมีเรื่องราวเดิมที่เป็นโรงทำปลาร้าและน้ำปลาไว้อยู่ผ่านภาพวาด โครงสร้างดั้งเดิมของอาคาร และเดินเชื่อมไปถึงสถานีรถไฟอยุธยาที่ไม่กี่ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนโฉมใหม่ เพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟความเร็วสูง และข้ามไปหาชุมชนริมทางรถไฟที่เมื่อก่อนเป็นชุมชนลิเกเก่าแก่ ซึ่งส่วนนี้เองที่จะได้รับผลกระทบต่อการที่มีรถไฟฟ้าเข้ามา บางส่วนของผู้คนที่อยู่อาศัยต้องย้ายถิ่นฐานและบ้านอีกหลายหลังจะถูกปิดล้อมไปด้วยอาคารสูงเทียบเท่าตึกหลายชั้นทำให้สัญจรได้ลำบาก หลังจากเดินเรียนรู้ประเด็นในพื้นที่แล้วเยาวชนได้ล้อมวงคุย แลกเปลี่ยน และเรียนรู้การขับเคลื่อนของคนในพื้นที่เพิ่มเติมโดยมีวิทยากรพิเศษ 3 ท่าน จากภาคประชาสังคม นักวิชาการจาก มรภ.พระนครศรีอยุธยา และปราชญ์ชุมชน เป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยน อีกทั้งยังมีตัวแทนจาก Y4W2 ร่วมแลกเปลี่ยนด้วย คือเพชร เยาวชนจาก Feeltrip อยุธยา และออย จาก MIDL อุดรธานี ที่พื้นที่มีประเด็นใกล้เคียงกันในเรื่องรถไฟรางคู่ ในช่วงบ่ายเป็นการร่วมออกแบบอยุธยาใหม่ ภายใต้เงื่อนไขที่รถไฟยังมีเข้ามา แต่เยาวชนจะร่วมออกแบบอย่างไรที่ยังคำนึงถึง Keyword เมืองที่อยากเห็นที่ได้ร่วมร่างด้วยกันในวันแรก เพื่อร่วมเสนอทางออกให้กับพื้นที่โดยมีตัวแทนจาก สส. ก้าวไกลมาร่วมรับฟังตลอดกระบวนการวันสุดท้าย

#Y4W2#DragonHeart

#พลังพลเมืองxอโยเดีย#สสย. #สสส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • ประเภทยินยอม

    คุ้กกี้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ (Google Analytics)

บันทึกการตั้งค่า