ประสบการณ์ของคุณแม่ท่านหนึ่ง เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดจากการสังเกตลูกน้อย เล่าว่าลูกอายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังพูดไม่ได้ คุณแม่จึงรู้สึกว่าพัฒนาการด้านการพูดของลูกช้าเกินไป คุณแม่จึงไปปรึกษาคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการเด็ก เมื่อคุณหมอทำการทดสอบก็พบว่าการดูทีวี หรือการเล่นแท็บเลต คือสาเหตูที่เป็น ต้นเหตุลูกพูดช้า
สถาบันสื่อเด็กและเยาวขนขอนำเรื่องราวผลกระทบของการดูทีวีหรือแทบเล็ตในเด็กมาฝากค่ะ หลายครอบครัวในสมัยนี้ชอบเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยี ด้วยมือถือ ด้วยเกมส์ออนไลน์ต่างๆ เพราะคิดว่าจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก แต่คุณหมอด้านสุขภาพจิตเด็กออกมาเตือนว่า หากปล่อยให้เด็กเล็กๆ อยู่กับโทรศัพท์มือถือ จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ค่ะ
ลูกพูดช้าเกิดจากอะไร?
มีความผิดปกติทางการได้ยิน เช่น หูดับ หูหนวกพัฒนาการล่าช้า หรือมีภาวะปัญญาอ่อน พัฒนาการด้านอื่นๆ ก็ช้าไปพร้อมๆ กันภาวะออทิสติก มีความบกพร่องทางการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่น การพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดครอบครัว หรือญาติพูดช้า มีความบกพร่องเฉพาะด้านคือการพูดอย่างเดียวขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ เปิดทีวีให้ลูกดู แต่ไม่มีการสื่อสารโต้ตอบ ทำให้เป็นการสื่อสารทางเดียว พัฒนาทางภาษาจึงหยุดชะงัก โดยมากจะให้พี่เลี้ยงเป็นคนเลี้ยงดู ไม่มีการเล่นหรือพูด
พัฒนาการพูดตามวัยเป็นอย่างไร?
4 -6 เดือน มองหน้าคนที่พูดด้วย หันหาที่มาของเสียงหัวเราะ ส่งเสียงอ้อแอ้ เล่นน้ำลาย
7 -9 เดือน เริ่มรู้จักการเลียนเสียง ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ส่งเสียงยังไม่เป็นภาษา
10 – 12 เดือน ทำท่าตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบ พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น หัดเรียก “แม่”
18 เดือน ชี้รูปภาพ/อวัยวะตามคำบอกได้ ทำตามคำสั่ง 1 ขั้นได้ พูดคำ 1 พยางค์ได้ 10 คำ ฮัมเพลงตามได้
2 ปี พูดคำ 2-3 คำติดกันได้อย่างมีความหมาย เช่น กินข้าว ไปเที่ยว หิวนม หิวน้ำ แต่ยังไม่เป็นประโยค
3 ปี พูดเป็นประโยคได้ เล่าเรื่องได้เข้าใจ 50% เช่น บอกชื่อ นามสกุลได้ ฟังคำสั่งที่ซับซ้อนเข้าใจมากขึ้น
เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?
18 เดือน ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น เรียกชื่อแล้วไม่หันตามเสียง มานี่ นั่งลง
2 ขวบ ไม่พูดเป็นคำที่มีความหมาย พูดคำเดี่ยวๆ ได้น้อยกว่า 5 – 6 คำ
2 ขวบ 6 เดือน ยังไม่พูด 2 คำติดกัน หรือยังไม่พูดเป็นวลี เช่น ไปเที่ยว ไม่เอา หม่ำหนม เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :: All MOMs Club คลับสำหรับแม่และเด็ก