วิทยุเด็กจะอยู่ได้ต้องปรับตัวให้เป็นของเล่นเด็ก และรัฐต้องสนับสนุน

นักวิชาการแนะรายการวิทยุเด็กจะอยู่ได้ต้องปรับตัวทวนกระแสสังคม ดึงเด็กเข้ามามีส่วนร่วม และใช้โซเชียลมีเดียเข้ามา เยาวชนหนุนรายการวิทยุเด็กยังสำคัญในการใช้เด็กได้คิด และใช้จินตนาการ ดีเจต้องพูดให้ชัด

 

2 ก.ย. 56 สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน จัดเสวนาความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ของวิทยุเด็กและเยาวชน ในงานสัมมนาผลการวิจัยสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ณ ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ 2 อาคาร D ชั้น 2 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นางริสรวล อร่ามเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัทแปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด กล่าวถึงรายการวิทยุ เพื่อเด็กและเยาวชน เด็กๆ ไม่คุ้นกับการสื่อเสียง ก่อนนั้นเป็นรายการที่ทุกคนรอคอย

“เสียงเอ็ฟเฟ็กต่างๆจะช่วยให้เกิดจินตนาการ การช่วยสร้างประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างพ่อแม่กับลูก จะช่วยทำให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้ และรูปแบบรายการวิทยุก็ควรมีการแลกเปลี่ยนในรายการด้วยวิทยุจึงจะอยู่รอด และต้องจัดเนื้อหารรายการให้เหมาะสมกับช่วงวัยเช่น เด็กเล็กพูดคุยกับพ่อแม่ เด็กโตเน้นการสร้างจินตนาการ อย่างเน้นเรื่องความเร็ว พ่อแม่เองก็ต้องเป็นตัวอย่างให้กับลูก ที่สำคัญก็คือ องค์กรสื่อต้องช่วยกันสนับสนุน” นางริสรวล กล่าว

 

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวถึงความท้าทายในการทำรายการวิทยุ ต้องนำรายการเด็กกลับมา และผลักดันให้เป็นโยบายของรัฐให้ได้ ดึงเด็กเข้ามาส่วนร่วม และการสร้างช่องวิทยุเด็กให้เกิดขึ้นนั้นต้องว่ายทวนน้ำเหมือนปลาแซลมอน ไม่ต้องซ้ำรอยซ้ำรูปแบบเดิม อาจจะออกหรือออนไลน์ลนอินเตอร์เน็ตเหมือนสถานีวิทยุที่ จ.ชลบุรี ที่ให้เด็กเข้ามาเป็นผู้ร่วมบริหารสถานี สร้างการจัดราการที่สนุก อย่าซ้ำรอยเดิม แล้วรายการดีๆ ก็จะกลับมา

 

“ต้องมีความหวังว่าวิทยุจะกลับมา และต้องทวนกระแสให้กับกับปลาแซลมอน ผลักดันเชิงนโยบาย ทำให้วิทยุเป็นของเล่นของเด็ก ต้องสนุก ให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม เช่นเข้าไปในโรงเรียน ในชุมชน ให้เด็กได้ผลิต ที่สำคัญอีกอย่างก็คือการร่วมผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่อยู่ในสภาฯ ขณะนี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยได้ ต้องมองรอบด้านทั้งเด็กเมืองและเด็กต่างจังหวัด เพื่อผลักดันให้เกิดเป็นนโยบาย” ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนกล่าว

 

“ผมว่ารายการวิทยุเด็กไม่มีวันตายครับ ถ้ายังมีการรายการอยู่ ก็มีคนฟัง อยากให้รายการวิทยุเด็กเข้าถึงโรงเรียนไม่ใช่แค่เป็นตัวฆ่าเวลาฟังในรถ ปัจจุบันมีสื่อที่มีภาพเต็มไปหมด รายการวิทยุเด็กจะฝึกให้เด็กได้คิด ได้ใช้จินตนาการและมีสมาธิในการฟังมากขึ้น” ด.ช.แสงจ้า กล่าว

ด้านนายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสารสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวถึงรายการวิทยุตายไปแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่ในรถที่มีคนเปิดฟัง และสื่อวิทยุออนไลน์กำลังมาแรง เพราะต้นทุนต่ำและผลิตได้ง่าย ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อความอยู่รอด จากสื่อเสียงก็ปรับเป็นสื่อภาพด้วย

 

“สื่อวิทยุต้องปรับตัวให้เข้าการใช้ชีวิตประจำวัน ปรับรูปแบบการนำเสนอทั้งเวลา เนื้อหา เพราะเป็นสื่อเฉพาะบุคคล บางที่ บางเวลา บางสื่อ บางเนื้อหา จึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทั้งดีเจเองก็ต้องมีทักษะในการจัดรายการ ต้องใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย เพราะคนในปัจจุบันอยากจะสื่อสารมากกว่าการรับสาร หากปรับได้ก็จะอยู่รอด” นายธามกล่าว