ภาคีพื้นที่นี้ดีจัง แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงาน สร้างเมือง 3 ดีทั่วไทย

ภาคีพื้นที่นี้…ดีจัง จัดงาน พบกันครึ่งทาง วางงานครึ่งปี แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดการทำงาน หวังสร้างเมือง 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ทั่วประเทศ

 

28 ก.ย. โครงการพื้นที่นี้…ดีจัง ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดงาน “พบกันครึ่งทาง วางงานครึ่งปี” โดยมีภาคีเครือข่ายพื้นที่ดีจัง จำนวน 55 โครงการเข้าร่วมและเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานเพื่อนำแนวคิดไปทำงานต่อ ในพื้นที่ งานนี้จัดขึ้นที่เดอะรอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท นครปฐม ระหว่างวันที่ 28 – 30 ก.ย.

นางสาวเข็มพร วิรุฬราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวถึงการทำงานของภาคีพื้นที่นี้…ดีจัง ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชุมชน 3 ดี ที่เป็นยุทธศาสตร์ 3 ดีของสำนักงานส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) นั่นคือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ที่จะนำไปสู่การสร้างเมืองสุขภาวะ

“พวกเราถือเป็นต้นแบบในการทำงานยุทธศาสตร์ 3 ซึ่งถือเป็นโอกาสดี การได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานระหว่างกันของพื้นที่ที่ทำงานไปก่อนหน้านี้แล้ว และอีกกลุ่มที่เริ่มทำงานพื้นที่ดี จะได้เห็นแนวคิดและวิธีการทำงาน เพื่อนำหลักการต่างๆ ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนไปขยายงานในพื้นที่ต่อไป” ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนกล่าว

 

นายวรพจน์ โอสถาภิรัตน์ กลุ่มดินสอสีและผู้ประสานโครงการพื้นที่นี้…ดีจัง กล่าวถึง การจัดงานพบกันครึ่งทาง วางงานครึ่งปี ของภาคีพื้นที่นี้…ดีจัง ว่า การจัดงานวันนี้จัดขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันระหว่างกลุ่มพื้นที่นี้…ดีจังกลุ่มเดิมและพื้นที่ใหม่ ซึ่งมีกลุ่มที่เข้าร่วม 55 กลุ่ม รวมกว่า 130 คน

 

อนึ่งโครงการพื้นที่นี้…ดีจังนั้น เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการทำพื้นที่สร้างสรรค์ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ในการรณรงค์ “พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน” เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักในปัญหา ช่วยขจัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเด็ก ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่ดีและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชน อย่างจริงจัง กว้างขวาง

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนและมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ให้ความหมาย “พื้นที่สร้างสรรค์ว่า” เป็นพื้นที่สร้างประสบการณ์ สร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตพัฒนาตามวัย มุ่งตอบสนองความต้องการของเด็ก ครอบครัว ชุมชน

 

โครงการรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน “พื้นที่นี้…ดีจัง” ได้นิยามพื้นที่สร้างสรรค์จากการประชุมระดมสมองของภาคีเครือข่ายร่วมกันว่า “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน”

พื้นที่ทางกายภาพ

พื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งบ้าน โรงเรียน และชุมชน ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เด็กๆ ทำกิจกรรมได้ตามวัยอย่างอิสระและสร้างสรรค์

 

พื้นที่ทางสื่อ

สื่อนับเป็นบริบททางสังคมที่เป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถรับและเข้าถึงได้ สื่อสาธารณะทุกประเภทจึงควรมีหน้าที่แบ่งปันพื้นที่ให้กับเด็กอย่างพอเพียง

 

พื้นที่ทางสังคม

เปิดโอกาสให้เด็กมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการแบ่งปัน จัดสรรทรัพยากรในสังคม มีส่วนกำหนดทิศทางในการบริการหรือสวัสดิการสำหรับเด็ก

 

โครงการพื้นที่นี้ดีจังนั้นดำเนินการมาแล้ว 4 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม นั่นคือ เครือข่ายพื้นที่นี้ดีจังที่ดำเนินการมา 4 ปี นั่นคือ กลุ่มชาติพันธุ์ดีจังทำงานกับกลุ่มชาติพันธ์ชนเผ่าทางภาคเหนือ (เชียงใหม่) กลุ่มอุตรดิตถ์ติดยิ้ม (อุตรดิตถ์)ทำงานกับกลุ่มเยาวชนใช้ทั้งสื่อนิทาน ละครในการสร้างพื้นที่ กลุ่มเขาใหญ่ดีจัง (นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครนายก) กลุ่มดีอีหลีบ้านเฮา (มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ) เมืองยิ้ม 3 ดี (กรุงเทพมหานคร) โดย กลุ่มรักยิ้มทำงานร่วมกับกลุ่มย่านชุมชนเก่าในกรุงเทพมหานคร กลุ่มเพชรบุรีดีจัง (เพชรบุรี) กลุ่มหุ่นเงาดี้ดีครบโซน (นครศรีธรรมราช)โดยกลุ่มลูกขุนน้ำ กลุ่มพัทลุงยิ้ม (พัทลุง) และกลุ่มพื้นที่นี้…ดีจัง 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)

 

และได้ขยายพื้นที่ทำงานออกไปอีก…..พื้นที่นั่นคือ ข่วงนี้ดีแต้ (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย) กลุ่มอีสานตุ้มโฮม (กาฬสิน มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีษะเกษ) กลุ่มตะวันออกดีจัง (ชลบุรี ระยอง สระแก้ว จันทบุรี ตราด) บ้านฉันมีของดี ใครๆ ก็รักพังตรุ เป็นกลุ่ม อบต.พังตรุ (จ.กาญจนบุรี) กลุ่มบางกอกนี้ดีจัง (บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางนา บึงกลุ่ม พระนคร) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก